หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์

หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์
รูปหลักการทำงานของคอมพิวเตอร์
          การทำงานของคอมพิวเตอร์จะเริ่มจากผู้ใช้ป้อนข้อมูลผ่านทางอุปกรณ์ของหน่วยรับเข้า  (Input  device)  เช่น  คีย์บอร์ด  เมาส์  ข้อมูลจะถูกเปลี่ยนให้เป็นสัญญาณดิจิทัล  ประกอบด้วยเลข  0  และ  1  แล้วส่งต่อไปยังหน่วยประมวลผลกลาง  เพื่อประมวลผลตามคำสั่ง  ในระหว่างการประมวลผลข้อมูลจะถูกเก็บไว้ที่  (Random  Access  Memory:  RAM)  ทำหน้าที่เก็บข้อมูลจากการประมวลผลเป็นการชั่วคราว  ขณะเดียวกัน  อาจมีคำสั่งให้นำผลลัพธ์จากการประมวลผลดังกล่าวไปแสดงผลผ่านทางอุปกรณ์ผ่านทางอุปกรณ์ของหน่วยส่งออก  เช่น จอภาพ  หรือ  เครื่องพิมพ์  นอกจากนี้เราสามารถบันทึกข้อมูลที่อยู่ในอนาคต  โดยการอ่านข้อมูลที่บันทึกในสื่อดังกล่าวผ่านทางเครื่องขับหรือไดร์ฟ  (drive)  การส่งผ่านข้อมูลไปยังหน่วยต่างๆ  ภายในระบบคอมพิวเตอร์จะผ่านทางระบบบัส  (bus)  อุปกรณ์ของหน่วยรับเข้าและส่งออก  จะเชื่อมต่อกับตัวเครื่องที่เรียกว่า ซิสเต็มยูนิต  (System  unit)  มี  เคส  (case)  เป็นโครงยืดให้อุปกรณ์ต่างๆประกอบกัน  ภายในเคสจะมีเมนบอร์ด  (Mainboard)  เป็นแผนวงจรหลัก  โดยซีพียู  หน่วยความจำ  การ์ด  รวมถึงอุปกรณ์ต่างๆ  จะถูกต่อกับเมนบอร์ดนี้ทั้งสิ้น

YOUTUBE VIDEO



ระบบการทํางานของคอมพิวเตอร์  มีหน่วยพื้นฐาน5  หน่วย  คือ
1.  หน่วยรับข้อมูล  (Input  Unit)  
        ทําหน้าที่ในการรับข้อมูลหรือคําสั่งจากภายนอกเข้าไปเก็บไว้ในหน่วยความจํา  เพื่อเตรียมประมวลผลข้อมูลที่ต้องการ  ซึ่งอุปกรณ์ที่ใช้ในการนําข้อมูลที่ใช้กันอยู่ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนั้น  มีอยู่หลายประเภทด้วยกันสําหรับอุปกรณ์ที่นิยมใช้ในปัจจุบันมีดังต่อไปนี้  
        -  คีย์บอร์ด  (Keyboard)  
        -  เมาส์  (Mouse)  
        -  สแกนเนอร์ (Scanner)  
2.  หน่วยประมวลผลกลาง  (Central  Processing  Unit)  
        ทําหน้าที่ในการคํานวณและประมวลผล  แบ่งออกเป็น  2  หน่วยย่อย  คือ  
        -  หน่วยควบคุม  ทําหน้าที่ในการดูแล  ควบคุมลําดับขั้นตอนของการประมวลผล  และการทํางานของอุปกรณ์ต่างๆ  ภายในหน่วยประมวลผลกลาง  และช่วยประสานงานระหว่างหน่วยประมวลผลกลาง  กับอุปกรณ์นําเข้าข้อมูล  อุปกรณ์ในการแสดงผล  และหน่วยความจําสํารอง  
        -  หน่วยคํานวณและตรรก  ทําหน้าที่ในการคํานวณและเปรียบเทียบข้อมูลต่างๆ  ที่ส่งมาจากหน่วยควบคุม  และหน่วยความจํา
3.  หน่วยความจําหลัก  (Main Memory)  
          ทําหน้าที่ในการเก็บข้อมูลหรือคําสั่งต่างๆ  ที่รับจากภายนอกเข้ามาเก็บไว้  เพื่อประมวลผลและยังเก็บผลที่ได้จากการประมวลผลไว้เพื่อแสดงผลอีกด้วย  ซึ่งแบ่งออกเป็น  
หน่วยความจํา  เป็นหน่วยความจําที่มีอยู่  ในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์  ทําหน้าที่ในการเก็บคําสั่งหรือข้อมูล  แบ่งออกเป็น  
        -  รอม (ROM)  หน่วยความจําแบบถาวร  
        -  แรม (RAM)  หน่วยความจําแบบชั่วคราว  
4.  หน่วยความจํารอง (Secondedata Storage)
        
ทำหน้าที่จัดเก็บข้อมูลและโปรแกรมต่างๆ  เพื่อนำมาใช้อีกครั้งภายหลัง  แม้จะปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ข้อมูลและโปรแกรมที่จัดเก็บไว้จะไม่สูญหาย
        -  Disk  Drive  
        -  Hard  Drive  
        -  CD-Rom  
        -  Magnetic  Tape  
        -  Card  Reader  
5.  หน่วยแสดงผล  (Output  Unit)  
          ทําหน้าที่ในการแสดงผลลัทธ์ที่ได้หลังจากการคํานวณและประมวลผล  สําหรับอุปกรณ์ที่  ทําหน้าที่ในการแสดงผลข้อมูลที่ได้นั้นมีต่อไปนี้  
          -  Monitor  จอภาพ  
          -  Printer  เครื่องพิมพ.  
          -  Plotter  เครื่องพิมพ์ที่ใช้ปากกาในการเขียนข้อมูลต่างๆ  ที่ต้องการลงกระดาษ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น